1. การจัดวาง ห้องน้ำส่วนใหญ่จะอยู่ติดกับห้องนอนหรืออยู่บริเวณโถงและทางเดินเชื่อมหน้าห้องแต่ละห้อง บ้านสองชั้นอาจต้องการ ห้องน้ำสำหรับแขก หรือสมาชิกในบ้านช่วงเวลาที่อยู่ชั้นล่าง ซึ่งห้องน้ำ ประเภทนี้ จะมีเพียงอ่างล้างหน้าโถส้วม และที่ปัสสาวะชาย เท่านั้น ห้องน้ำชั้นบน และชั้นล่างควรมีตำแหน่งที่ตรงกันเพื่อ ความสะดวกในการเดินระบบท่อ ควรจัดวางทิศทางห้องน้ำไว้ทางทิศใต้ หรือทิศตะวันตกเพื่อให้ได้รับแดดบ่ายได้เต็มที่ซึ่งเป็นการฆ่าเชื้อโรคทั้งนี้ต้องคำนึงถึงการระบายอากาศด้วยโดยควรมีหน้าต่าง ระบายอากาศและรับแสงแดด และไม่มีส่วนมุมอับทึบมากเพราะทำให้ไม่สะดวกต่อการทำความสะอาด การแบ่งกลุ่มประโยชน์ใช้สอย ภายในห้องน้ำ แบ่งเป็นส่วนแห้ง ได้แก่อ่างล้างมือ กระจก ชั้นวางของโถส้วมและส่วนเปียก ซึ่งได้แก่บริเวณอาบน้ำหรืออ่างอาบน้ำ การจัดเรียงลำดับสุขภัณฑ์ควรเรียงลำดับตามความถี่ของการใช้งาน สิ่งที่ใช้มากคืออ่างล้างหน้า ซึ่งควรจัดไว้ใกล้กับประตูเข้าออก ส่วนโถส้วมไม่ควรจัดให้เปิดประตูเข้ามาแล้วเห็นเป็นสิ่งแรก เพราะจะเป็นภาพที่ไม่น่าดู
2. การเลือกวัสดุและสีห้องน้ำ ควรเลือกตกแต่งห้องน้ำอย่างเรียบง่ายใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสามารถเลือกกระเบื้องปูพื้นและผนังที่ผลิตออกมาหลากหลายแบบ ทั้งที่มีสีและผิวเลียนแบบธรรมชาติ นอกจากนั้นยังเลือกใช้วัสดุธรรมชาติแท้ ๆ เช่น หินและหินกาบ มาตกแต่งเพิ่มเติมในบางจุดได้ พื้นห้องน้ำควรเลือกใช้วัสดุที่มีความปลอดภัย โดยเฉพาะห้องน้ำในบ้าน ที่มีเด็กและผู้สูงอายุ โดยเลือกกระเบื้องที่ออกแบบสำหรับปูพื้น ซึ่งสามารถกันลื่นได้ ถ้ามีลวดลายในแผ่นหรือมีแผ่นเล็ก ต้องมีการยาแนวมากจะทำให้เกิดแรงเสียดทานมากขึ้น แต่อาจจะต้องทำ ความสะอาดมากขึ้นด้วย กระเบื้องปูพื้นและผนังควรเลือกโทนสีอ่อนที่นุ่มนวลสบายตา และเมื่อสกปรกสามารถมองเห็น และทำความสะอาดได้ง่าย ประตูห้องน้ำต้องเลือกชนิดทนน้ำเช่น ไฟเบอร์กลาส หรือพีวีซี ใช้มือจับก้านบิด หรือกลอนที่ใช้สำหรับห้องน้ำโดยเฉพาะ

4. ระบบไฟฟ้าในห้องน้ำ ระบบไฟฟ้าต้องอยู่สูงกว่าระดับพื้นห้องน้ำมากๆ ส่วนมากนิยมติดที่ผนังบริเวณเคาน์เตอร์ล้างมือ และกระจกเงาปลั๊กต้องมีฝาปิดและมีสายดิน ต้องเตรียมสายไฟให้กับเครื่องทำน้ำอุ่นและที่โกนหนวดด้วย ให้เลือกเครื่องทำน้ำอุ่นขนาด 3000-3500 วัตต์ก็เพียงพอเนื่องจากอากาศเมืองไทยไม่หนาวจัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น